รางวัลผลงานวิจัยเด่นของผู้ปฏิบัติในมหาวิทยาลัย สังกัดคณะเกษตรศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2560

รางวัลผลงานวิจัยเด่นของผู้ปฏิบัติในมหาวิทยาลัย สังกัดคณะเกษตรศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2560

          รางวัลผลงานวิจัยเด่น ได้แก่ ศาสตราจารย์ (เชี่ยวชาญพิเศษ) ดร.สัญชัย จตุรสิทธา อาจารย์ประจำภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ

          รางวัลผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารที่มีค่า Impact Factor สูงที่สุด ได้แก่ อาจารย์ ดร.Hien Van Doan อาจารย์ประจำภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ ได้ตีพิมพ์ในวารสาร FISH & SHELLFISH IMMUNOLOGY ที่มีค่า Impact Factor = 3.148 (ในฐานข้อมูล ISI) บทความเรื่อง Effects of Cordyceps militaris spent mushroom substrate on mucosal and serum immune parameters, disease resistance and growth performance of Nile tilapia, (Oreochromis niloticus). Volume: 67  Pages: 78-85 Published: AUG 2017

         รางวัลผลงานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิง (Citation) ประจำปี 2560 สูงที่สุด สำหรับผู้มีอายุเกิน 45 ปี ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ โตอนันต์ อาจารย์ประจำภาควิชาภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช จากบทความวิจัยเรื่อง Caulicolous Botryosphaeriales from Thailand ได้ตีพิมพ์ในวาสาร PERSOONIA Volume: 34  Pages: 87-99 Published: JUN 2015 จำนวนที่ได้รับการอ้างอิง เท่ากับ 14 บทความ (ไม่นับอ้างอิงตัวเอง)

         รางวัลผลงานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิง (Citation) ประจำปี 2560 สูงที่สุด สำหรับผู้มีอายุไม่เกิน 45 ปี ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย อาจารย์ประจำภาควิชาพืชศาสตร์และปฐพีศาสตร์ จากบทความวิจัยเรื่อง Effect of different foliar zinc application at different growth stages on seed zinc concentration and its impact on seedling vigor in rice ได้ตีพิมพ์ในวาสาร SOIL SCIENCE AND PLANT NUTRITION Volume: 59  Issue: 2  Pages: 180-188 Published: APR 1 2013 จำนวนที่ได้รับการอ้างอิง เท่ากับ 8 บทความ  (ไม่นับอ้างอิงตัวเอง)

        รางวัลผลงานวิจัยเด่นด้านการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงประจักษ์ ได้แก่ โครงการผลิตน้ำเชื้อโคนมคัดเพศ สัดส่วนเพศเมีย 70% ทีมวิจัยประกอบด้วย 
อ.ดร.กรวรรณ ศรีงาม, รศ.ดร.ศุภมิตร เมฆฉาย, ผศ.ดร.วิวัฒน์ พัฒนาวงศ์, อ.ดร. ทฤษฎี คำหล่อ, รศ.เพทาย พงษ์เพียจันทร์ (ที่ปรึกษา) เป็นผลงานวิจัยที่ดำเนินการต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 12 ปี (2548- 2560) จุดเด่นของผลงาน เป็นโครงการวิจัยที่สร้างนวัตกรรม "การผลิตน้ำเชื้อโคนมคัดเพศ สัดส่วนเพศเมีย 70%" โดยใช้เทคนิคด้านภูมิคุ้มกันในการคัดเลือกให้น้ำเชื้อปกติที่ได้จากพ่อพันธุ์โคนมมีสัดส่วนตัวอสุจิเพศเมียสูงขึ้นมากกว่า 70%
        






เอกสารประกอบ :

กลุ่มข่าว : กิจกรรม
วันที่เผยแพร่ : 2018-01-19 11:33:53
เผยแพร่โดย : มานพ เปี้ยพรรณ์ | หน่วยงานที่จัด :
Notice (8): Undefined index:  name_full_th [APP\View\Webs\info_detail.ctp, line 162]
เปิดอ่าน : 4541 ครั้ง