ประวัติความเป็นมาคณะเกษตรศาสตร์
พ.ศ.2507
มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งเป็นภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร โดยสังกัดอยู่กับคณะวิทยาศาสตร์
อาคารที่ทำการภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ (อาคารชีววิทยา) ในปี พ.ศ. 2507
พ.ศ.2510
ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นคณะตามประกาศพระราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2510 ให้เป็นหน่วยราชการระดับคณะ นับเป็นคณะที่ 5 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และแต่งตั้งให้ อาจารย์ ดร.สุขุม อัศเวศน์ เป็นคณบดีคนแรกของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยได้แบ่งส่วนราชการออกเป็น 5 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาปฐพีศาสตร์และอนุรักษศาสตร์ ภาควิชาสัตวบาล ภาควิชาพืชศาสตร์ ภาควิชาถนอมผลิตภัณฑ์เกษตร ภาควิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร
รศ. ดร.สุขุม อัศเวศน์ คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ท่านแรก
อาคารและบริเวณคณะเกษตรศาสตร์ในปีพ.ศ. 2510
อาคารแรกของคณะเกษตรศาสตร์ (อาคาร 08101)
พ.ศ.2518
ภาควิชาถนอมผลิตภัณฑ์เกษตร เปลี่ยนชื่อเป็นภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และได้พัฒนาไปเป็นคณะอุตสาหกรรมเกษตรในปัจจุบัน ส่วนภาควิชาพืชศาสตร์ ได้ยุบภาควิชาและจัดตั้งเป็น ภาควิชาพืชสวน ภาควิชาพืชไร่ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร และภาควิชาอารักขาพืช
พ.ศ.2523
ยุบภาควิชาอารักขาพืชจัดตั้งเป็นภาควิชาโรคพืช และภาควิชากีฏวิทยา
พ.ศ.2535
ภาควิชาสัตวบาลได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นภาควิชาสัตวศาสตร์
พ.ศ.2547
ได้แบ่งส่วนราชการออกเป็น 1 สำนักงานเลขานุการคณะ และ 8 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชากีฏวิทยา ภาควิชาปฐพีศาสตร์และอนุรักษศาสตร์ ภาควิชาพืชไร่ ภาควิชาพืชสวน ภาควิชาโรคพืช ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร ภาควิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร ภาควิชาสัตวศาสตร์
อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ คณะเกษตรศาสตร์ มช. (พ.ศ. 2557)
พ.ศ.2552
ได้หลอมรวมและแบ่งส่วนราชการเป็น 1 สำนักงานคณะ 3 ศูนย์ และ 4 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร
พ.ศ.2557
มีการปรับปรุงโครงสร้างคณะ จัดตั้งภาควิชาใหม่เพิ่มเติมอีก 1 ภาควิชา รวมมีทั้งหมด 5 ภาควิชา พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนชื่อและพันธกิจภาควิชาเดิม ได้แก่
- ภาควิชาเกษตรที่สูง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ภาควิชาพืชศาสตร์และปฐพีศาสตร์
- ภาควิชาพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช
- ภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ
มีการเรียนการสอนการผลิตบัณฑิตทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก โดยระดับปริญญาโทและเอก ขยายเปิดหลักสูตรนานาชาติและมุ่งเน้นสู่ความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งมีศูนย์วิจัยและฝึกอบรมเป็นสถานที่ฝึกงานของนักศึกษา สนับสนุนด้านการเรียน การสอน งานวิจัย ได้แก่
1. ศูนย์วิจัย สาธิตและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ
2. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมที่สูง
3. ศูนย์วิจัยระบบทรัพยากรเกษตร
4. ศูนย์บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร