×




×

หลักเกณฑ์คัดเลือกนศ.

หนังสั้นแนะนำภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ
บทเริ่มต้นมุมมองการเรียนรู้ การใช้ชีวิต การเรียนการสอน บนเส้นทางสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ มช. เปิดมุมมองใหม่ให้ได้สัมผัสบรรยากาศการใช้ชีวิตการเรียนใน มช.
และได้เติบโตอย่าง Smart และ มีความสุข มาร่วมเดินทางไปกับเรา... สัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ มช. ให้อะไรมากกว่าที่คุณคิด
หลักสูตรการเรียนการสอน
ศึกษาทั่วไป (30 หน่วยกิต) | วิชาเฉพาะ (ไม่น้อยกว่า 107 หน่วยกิต) | วิชาเลือกเสรี (ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต) | |||
กลุ่มวิชา | หน่วยกิต | กลุ่มวิชา | หน่วยกิต | ||
กลุ่มวิชาด้านพัฒนาทักษะผู้เรียนรู้ (Learner Person) | 18 | วิชาแกน | 43 | ||
กลุ่มวิชาด้านการพัฒนาทักษะเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์สร้านวัตกรรม (Innovative Co-Creator) | 6 | วิชาเอก | ไม่น้อยกว่า 64 | ||
กลุ่มด้านการพัฒนาทักษะการเป็นพลเมืองที่เข็มแข็ง (Active Citizen) | 6 | วิชาโท (ถ้ามี) | ไม่น้อยกว่า 15 |
มีการเรียน-การสอนอะไรบ้าง?
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้พัฒนาหลักสูตรจากวิชาเอกในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ออกมาเป็นสาขาวิชาสัตวศาสตร์
ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานด้านการผลิตปศุสัตว์และประมง/สัตว์น้ำ และการผลิตนักสัตวศาสตร์เกษตรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มี 2 สาขาวิชาเอกให้เลือกเรียน คือ
- สาขาวิชาเอกสัตวศาสตร์
- สาขาวิชาเอกวิทยาศาสตร์การประมง

จุดเด่นหลักสูตรสัตวศาสตร์
1. หลักสูตรรองรับพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวบาล
2. หลักสูตรรองรับความต้องการของผู้เรียนในการเพิ่มพูนความรู้และทักษะที่มีการบูรณาการด้านสัตวศาสตร์และวิทยาศาสตร์การประมง และมีกรอบความคิดที่พัฒนาเป็นมิติ เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
3. สอดแทรกเทคโนโลยีที่ทันสมัยสำหรับการผลิตปศุสัตว์และสัตว์น้ำ แบบ Smart Farming
4. มีฟาร์มทดลองที่ใช้ระบบ Smart Device ให้ได้เรียนรู้และปฏิบัติงานจริง ถึง 4 ฟาร์ม และยังมีหน่วยแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์และสัตว์น้ำ รวมถึงธุรกิจจำลองให้ได้ฝึกทำธุรกิจ
6. มีสถานประกอบการรองรับการฝึกงานหรือปฏิบัติงานด้านสหกิจศึกษา ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ หมดกังวลว่าเรียนไปแล้วต้องฝึกงานที่ไหน
7. หอพักที่มีอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับการฝึกประสบการณ์ด้านการผลิตปศุสัตว์อัจฉริยะ มี Co - working Space สำหรับเป็นพื้นที่เรียนรู้
2. หลักสูตรรองรับความต้องการของผู้เรียนในการเพิ่มพูนความรู้และทักษะที่มีการบูรณาการด้านสัตวศาสตร์และวิทยาศาสตร์การประมง และมีกรอบความคิดที่พัฒนาเป็นมิติ เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
3. สอดแทรกเทคโนโลยีที่ทันสมัยสำหรับการผลิตปศุสัตว์และสัตว์น้ำ แบบ Smart Farming
4. มีฟาร์มทดลองที่ใช้ระบบ Smart Device ให้ได้เรียนรู้และปฏิบัติงานจริง ถึง 4 ฟาร์ม และยังมีหน่วยแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์และสัตว์น้ำ รวมถึงธุรกิจจำลองให้ได้ฝึกทำธุรกิจ
|
ฟาร์มสุกร ใช้ระบบการเลี้ยงในโรงเรือนแบบปิด (EVAP : Evaporative Cooling System) เป็นโรงเรือนสุกรพันธุ์ ผลิตลูกสุกรส่งให้เกษตรกร ภายใต้โครงการความร่วมมือกับภาคเอกชน และเป็นฟาร์มต้นแบบรองรับเกษตรกร หน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้ามาศึกษาดูงาน |
|
ฟาร์มสัตว์ปีก ผลิตไก่ลูกผสมพื้นเมืองให้กับเกษตรกรภาคเหนือตอนบนแบบครบวงจร ด้วยระบบโรงเรือนแบบปิด (EVAP : Evaporative Cooling System) |
|
ฟาร์มสัตว์เคี้ยวเอื้อง ประกอบด้วยฟาร์มย่อย คือ ฟาร์มโคเนื้อโคนม ฟาร์มแพะ แกะ กระต่าย และแปลงพืชอาหารสัตว์ ซึ่งฟาร์มโคนมได้รับการรับรองมาตรฐานฟาร์มโคนม (GAP : Good Agricultural Practice) จากกรมปศุสัตว์ |
|
ฟาร์มสัตว์น้ำ มีการวิจัยและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทั้งปลาบริโภคและปลาสวยงามที่หลากหลาย เช่น การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ในระบบไบโอฟลอค (Biofloc) และการเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืด ในระบบอควาโปนิกส์ (Aquaponics) เป็นต้น |
|
หน่วยแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์และสัตว์น้ำ เป็นการแปรรูปผลิตภัณฑ์ของภาควิชาฯ เช่น การแปรรูปน้ำนมดิบ แปรรูปเป็นนมพาสเจอร์ไรซ์ โยเกิร์ต สบู่ โลชั่น และการแปรรูปปลา เช่น ปลาแดดเดียว เป็นต้น |
|
ธุรกิจจำลอง ร้าน Mor Milk CMU เป็นธุรกิจจำลองให้นักศึกษาได้มาทดลองการเป็นผู้ประกอบการ (Startup) ทั้งการจำหน่ายเครื่องดื่มและเบเกอรี่ที่ใช้วัตถุดิบหลักจากฟาร์มทดลองของภาควิชาฯ |
|
การเรียนการสอนแบบอัจฉริยะ ห้องเรียนรองรับการเรียนการสอนแบบอัจฉริยะในศตวรรษที่ 21 และยังมีห้องปฏิบัติการที่ใช้ในการเรียนและการวิจัย เช่น ห้องปฏิบัติการอาหารสัตว์ ห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยา ห้องปฏิบัติการเตรียมการวินิจฉัยโรคและจุลพยาธิวิทยาสัตว์ |
7. หอพักที่มีอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับการฝึกประสบการณ์ด้านการผลิตปศุสัตว์อัจฉริยะ มี Co - working Space สำหรับเป็นพื้นที่เรียนรู้
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
ภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- โทร 0 5394 4073 ต่อ 128 หรือ 08 7358 2403 (วรากรณ์ ใจยา)
- Facebook: https://www.facebook.com/AASCMU
- Twitter: https://twitter.com/AasCmu
- Line @: https://lin.ee/LiDaFfC
