โครงการ "วิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพผู้นำชุมชนและองค์กรชุมชนในพื้นที่โครงการหลวง เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน”

วันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.สุรพล เศรษฐบุตร ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยจากมูลนิธิโครงการหลวง ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อดำเนินงานภายใต้โครงการ "วิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพผู้นำชุมชนและองค์กรชุมชนในพื้นที่โครงการหลวง เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน” พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณฐิตากานต์ พยัคฆา อ.ดร.ดรัลรัตน์ ใจเที่ยง อาจารย์ประจำสาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและพัฒนาชนบท ภาควิชาพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นายอิสรานุวัฒน์ บรรพตณรงค์ ผู้ร่วมโครงการวิจัย สังกัดมูลนิธิโครงการหลวง นางสาวอุษา ยาสิทธิ์ ผู้ช่วยโครงการวิจัย คุณกรวรรณ แซ่อื้อ หัวหน้าแผนบริหารงานวิจัย คุณณัฐกานต์ งามแสงฤทธิ์ เจ้าหน้าแผนกบริหารงานวิจัย ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คุณสุชาดา กะมะลานนท์ วิทยากรปฏิบัติงานด้านพัฒนาสังคม และคุณพิพัฒพงศ์ พิมพ์โคตร วิทยากรปฏิบัติงานด้านวิชาการเกษตร มูลนิธิโครงการหลวง

ได้นำผู้นำชุมชน หมู่ 14 บ้านขอบด้ง ต.ม่อนปิ่น 2 หย่อมบ้าน (ขอบด้ง และ นอแล) พื้นที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จำนวน 11 ราย และผู้นำชุมชน หมู่ 9 บ้านเมืองอาง ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง 6 หย่อมบ้าน (แม่ป่าก่อ ห้วยน้ำปี่ แม่ลา หล่ายห้วย เมืองอาง และ ห้วยน้ำอุ่น) พื้นที่สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ จำนวน 12 ราย ศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนต้นแบบ ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ใน 3 ฐานการเรียนรู้ ได้แก่ 1) งานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพด้านการเกษตร 2) งานควบคุมและป้องกันไฟป่า และ 3) ศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติฯ ป่าชุมชนบ้านต้นผึ้ง หมู่ 7 ต.แม่โป่ง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ในโครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และกระบวนการลดเชื้อเพลิงในชุมชนสร้างรายได้ให้กับชุมชน ณ วิสาหกิจชุมชนป่าต้นผึ้ง โดย นายวิชัย เป็งเรือน ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 7 บ้านต้นผึ้ง และในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 ได้ศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการท่องเที่ยวชุมชนบ้านแม่กำปอง หมู่ที่ 3 ต.ห้วยแก้ว อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ โดยมี พ่อหลวงพรมมินทร์ หรือนายธีรเมศร์ ขจรพัฒนภิรมย์ ผู้ริเริ่มในการพัฒนาหมู่บ้านเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ให้เกียรติเป็นผู้ถ่ายทอดประสบการณ์ความสำเร็จในการจัดการท่องเที่ยวชุมชนบ้านแม่กำปอง

การศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนต้นแบบ ในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมโครงการวิจัยฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนและองค์กรชุมชนบนพื้นที่สูง ให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูง และส่งเสริมให้ผู้นำชุมชนและองค์กรชุมชนบนพื้นที่สูง โครงการหลวง มีจิตสำนึกสาธารณะ มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน



เอกสารประกอบ :

Photo : 31 รูป
กลุ่มข่าว : กิจกรรม | ประเภท : บริการวิชาการ
วันที่เผยแพร่ : 29 ก.พ. 2567
เผยแพร่โดย : อภิรมย์ วุฒิคณารักษ์
เปิดอ่าน : 627 ครั้ง